KUBET – 9 วิธีลดกินอาหารเค็มจัด ด้วยตัวเอง ทำยังไงดี

    9 วิธีลดกินอาหารเค็มจัด ด้วยตัวเอง ทำยังไงดี

    9 วิธีลดกินอาหารเค็มจัด ด้วยตัวเอง ทำยังไงดี | บทความโดย ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล

    ถ้าพูดถึงเรื่องของรสชาติของอาหารไทยนั้น ต้องบอกว่าไม่แพ้ชาติใดในโลกค่ะ โดยอาหารไทยส่วนมากจะมีรสชาติค่อนข้างหลากหลาย มีทั้งรสเปรี้ยว รสหวาน รสขมและรสเค็ม โดยรสเค็มนั้นหากมีมากเกินความจำเป็นก็จะเป็นปัญหาค่ะ ปกติผู้เขียนไม่เน้นความเค็มค่ะ เพราะเค็มนำอย่างเดียวก็ไม่ได้อร่อยเลย

    แล้วเราจะทำยังไงทำให้อาหารของเรามีรสชาติกลมกล่อมมากขึ้น ลดเค็มน้อยลง บางเมนูไม่ทำให้เค็มจัดจนเกินไป ในบทความนี้เราจะมารู้กันค่ะ กับวิธีลดกินอาหารเค็มจัดด้วยตัวของเราเอง โดยวิธีบางอย่างที่จะได้พูดนั้น ผู้เขียนได้นำมาใช้ตลอดค่ะ อยากรู้แล้วใช่ไหมคะ? ส่วนจะมีวิธีการอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น อ่านต่อกันเลยดีกว่า กับข้อมูลดังต่อไปนี้ค่ะ

    1. ปรุงอาหารเอง 

    การปรุงอาหารเองเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมความเค็มในอาหาร เพราะเราสามารถเลือกใช้วัตถุดิบสดใหม่ และลดการใช้เครื่องปรุงรสในอาหารได้ นอกจากนี้การปรุงอาหารเอง ทำให้เราสามารถปรับรสชาติอาหารได้ตามความชอบส่วนตัวหรือเป้าหมายที่ตั้งใจเอาไว้ว่าจะลดการอาหารเค็มๆ จึงทำให้เราสามารถลดปริมาณการเติมเครื่องปรุงที่จะทำให้เค็ม 

    2. ชิมก่อนปรุง 

    การชิมอาหารก่อนปรุงเป็นเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยลดการกินเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้เราประเมินรสชาติที่แท้จริงของอาหารก่อนที่จะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มเข้าไปค่ะ เครื่องปรุงรสบางชนิด เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว หรือซุปก้อน อาจมีความเค็มในปริมาณที่แตกต่างกัน การชิมก่อนปรุงจะช่วยให้เราทราบว่าอาหารมีรสชาติเค็มมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ควรชิมอาหารในระหว่างการปรุงอาหาร เพื่อให้เราสามารถปรับรสชาติได้ตามต้องการ และขั้นตอนการชิมอาหารอย่างถูกต้อง มีดังนี้

    • ใช้ช้อนสะอาด: ใช้ช้อนสะอาดตักอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ
    • ชิมรสชาติ: ค่อยๆ ชิมอาหาร เพื่อให้ได้รับรสชาติอย่างเต็มที่
    • ประเมินรสชาติ: ประเมินรสชาติของอาหารว่ามีความเค็มมากน้อยแค่ไหน หรือมีรสชาติอื่นๆ ที่โดดเด่นหรือไม่
    • ตัดสินใจ: ตัดสินใจว่าจะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มหรือไม่ หากรสชาติยังไม่ถูกใจ หรือต้องการเพิ่มรสชาติอื่นๆ
    • เติมเครื่องปรุงรส: หากต้องการเติมเครื่องปรุงรส ควรเติมในปริมาณน้อยก่อน แล้วค่อยๆ ชิมรสชาติอีกครั้ง หากรสชาติยังไม่พอดี ค่อยเติมเพิ่มทีละน้อย

    อาหารไทย

    3. ใช้สมุนไพรและเครื่องเทศ 

    การใช้สมุนไพรและเครื่องเทศเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมให้กับอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติที่อร่อย กลมกล่อม และน่ารับประทานมากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาเกลือหรือเครื่องปรุงรสที่มีความเค็ม ซึ่งเป็นอีกทางเลือกในการปรุงอาหารและยังช่วยให้เราได้ค้นพบรสชาติใหม่ๆ ที่น่าสนใจอีกด้วยค่ะ

    กลิ่นหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศสามารถกระตุ้นประสาทรับรส ทำให้เรารู้สึกว่าอาหารมีรสชาติเข้มข้นขึ้น แม้ว่าปริมาณเกลือจะลดลง สมุนไพรและเครื่องเทศบางชนิดสามารถช่วยบดบังรสชาติไม่พึงประสงค์ของอาหาร เช่น รสขมหรือรสคาว ทำให้ผู้เรารู้สึกว่าอาหารมีรสชาติอร่อยขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเติมความเค็มเพื่อกลบรสชาติเหล่านั้นค่ะ และเคล็ดลับการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศ มีดังนี้ค่ะ

    • ใช้สมุนไพรสด: สมุนไพรสดมีกลิ่นหอมและรสชาติที่เข้มข้นกว่าสมุนไพรแห้ง
    • ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม: ควรใช้สมุนไพรและเครื่องเทศในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กลบรสชาติของวัตถุดิบหลัก
    • เลือกใช้ให้เหมาะสมกับอาหาร: สมุนไพรและเครื่องเทศแต่ละชนิดมีรสชาติและกลิ่นหอมที่แตกต่างกัน ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
    • ทดลอง: ลองใช้สมุนไพรและเครื่องเทศใหม่ๆ เพื่อค้นหารสชาติที่เราชอบค่ะ

    4. จำกัดอาหารแปรรูป 

    อาหารแปรรูปมักมีเครื่องปรุงรสที่เกี่ยวกับความเค็ม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการกินเค็มมากเกินความจำเป็น ดังนั้นการจำกัดอาหารแปรรูปจึงเป็นวิธีที่สำคัญ เพราะสามารถช่วยลดเครื่องปรุงรสดังกล่าวมากจนเกินไปค่ะ และตัวอย่างอาหารแปรรูปที่ควรจำกัด เช่น

    • อาหารสำเร็จรูป: บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง
    • อาหารกระป๋อง: ผักกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง
    • อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์: ไส้กรอก แฮม เบคอน ลูกชิ้น หมูยอ
    • ขนมขบเคี้ยว: มันฝรั่งทอด ขนมอบกรอบ
    • เครื่องปรุงรส: น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส ผงชูรส

    ไส้กรอก

    5. ไม่วางเครื่องปรุงบนโต๊ะอาหาร 

    การไม่วางเครื่องปรุงบนโต๊ะอาหารเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดการกินเค็มได้ เพราะเป็นการลดโอกาสที่เราจะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มเข้าไปในอาหารโดยไม่จำเป็นค่ะ ตามธรรมชาติเมื่อคนเราเมื่อเห็นเครื่องปรุงวางอยู่บนโต๊ะอาหาร เรามักจะรู้สึกคุ้นเคยและอยากที่จะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มเข้าไปในอาหาร แม้ว่าอาหารนั้นจะมีรสชาติที่พอดีอยู่แล้ว การมองเห็นเครื่องปรุงรสบนโต๊ะอาหาร จะกระตุ้นให้เราคิดถึงรสชาติ และทำให้เราอยากที่จะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มเข้าไปในอาหาร เพราะหลายคนมีความเชื่อว่าการเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มจะทำให้อาหารมีรสชาติอร่อยขึ้น ซึ่งอาจไม่เป็นความจริงเสมอไปนะคะ 

    6. ลดการใช้น้ำจิ้ม 

    น้ำจิ้มเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยยิ่งขึ้น แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าน้ำจิ้มหลายชนิดมีเครื่องปรุงรสเค็ม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการกินเค็มมากเกินความจำเป็น การลดการใช้น้ำจิ้มจึงเป็นวิธีสำคัญในการลดเครื่องปรุงรสที่เกี่ยวกับความเค็มในอาหารได้ และการทำน้ำจิ้มเองมีส่วนช่วยควบคุมการเติมเครื่องปรุงรสเค็มได้นะคะ

    น้ำจิ้ม

    7. จำกัดการใช้เครื่องปรุงรส 

    การจำกัดเครื่องปรุงรสที่เกี่ยวข้องกับความเค็มช่วยลดการกินเค็มได้ค่ะ  เพราะว่าเครื่องปรุงรสหลายชนิด เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วซอสปรุงรส ผงชูรส และซุปก้อน ล้วนมีความเค็มสูง การลดการใช้เครื่องปรุงเหล่านี้โดยตรงจึงเป็นการลดการกินเค็มได้ การกินอาหารรสเค็มเป็นประจำจะทำให้เราคุ้นชินกับรสชาตินั้นและต้องการรสเค็มมากขึ้นเรื่อยๆ 

    การลดการใช้เครื่องปรุงรสจะช่วยลดความเคยชินนี้และทำให้เรารับรสชาติของอาหารได้ดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเติมความเค็ม เมื่อลดการใช้เครื่องปรุงรสลง เราจะได้สัมผัสรสชาติที่แท้จริงของวัตถุดิบมากขึ้น และอาจค้นพบว่าอาหารนั้นมีรสชาติอร่อยตามธรรมชาติอยู่แล้ว โดยจะพูดว่าการลดการใช้เครื่องปรุงรสจะช่วยให้เราฝึกฝนการรับรสชาติใหม่ก็ได้ค่ะ ดังนั้นควรใช้เครื่องปรุงรสในปริมาณที่น้อยที่สุด หรือใช้เพียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติเท่านั้นค่ะ

    8. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความเค็มน้อย

    การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องปรุงรสเกี่ยวกับความเค็มต่ำ สามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเราให้ลดการกินเค็มลงได้ค่ะ เพราะมีส่วนช่วยทำให้เราสามารถวางแผนการการกินอาหารเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเราจะทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องปรุงรสหลายยี่ห้อที่ผลิตสูตรลดเครื่องปรุงรสเกี่ยวกับความเค็ม ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าสูตรปกติค่ะ

    อ่านฉลาก

    9. อ่านฉลากโภชนาการ

    การอ่านฉลากโภชนาการเป็นเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้เราลดการกินเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ เนื่องจากว่าฉลากโภชนาการจะแสดงข้อมูลปริมาณของเครื่องปรุงรสที่เกี่ยวกับความเค็ม การอ่านฉลากโภชนาการช่วยให้เราเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ทำให้เราสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมค่ะ

    และนั่นคือเคล็ดลับสำคัญที่มีส่วนช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา ให้หันมาปรุงอาหาร เลือกซื้ออาหารและรับประทานอาหารที่มีความเค็มน้อยลงค่ะ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายวิธีการมากๆ สำหรับผู้เขียนเป็นคนชอบทำอาหารเองค่ะ เลยง่ายมากสำหรับการควบคุมเรื่องความเค็ม และรสชาติของอาหารโดยภาพรวมที่ผู้เขียนได้ทำนั้นคือกลมกล่อมที่ไม่เน้นเค็มค่ะ ถึงแม้ว่าจะใส่เครื่องปรุงที่มีความเค็มก็ตาม เพราะผู้เขียนมีการชิมก่อนปรุง ตวงเครื่องปรุงต่างๆ และมักใช้วัตถุดิบสดใหม่ในการทำอาหาร รวมไปถึงการใช้สมุนไพรต่างๆ เข้ามาช่วยด้วยเหมือนกัน

    โดยแนวทางเดียวกันทั้งหมดที่ว่ามานั้น คุณผู้อ่านก็สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ ก็อย่าลืมนำไปใช้กันนะคะ และผู้เขียนหวังว่าเนื้อในบทความนี้จะสามารถเป็นแนวทางให้กับคุณผู้อ่านได้บ้าง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ

    ขอบคุณเครดิตภาพประกอบบทความ


    เกี่ยวกับผู้เขียนภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล

    ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล

    • จบการศึกษา: พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล 

    บทความอื่นที่น่าสนใจโดยผู้เขียน


    ภาพปก

    วิธีดูแลตัวเองหลังบริจาคเลือด มีอะไรบ้าง

    ภาพปก

    11 วิธีลดกินน้ำตาล เลิกติดหวานจัด

    ภาพปก

    8 ขั้นตอนทำสลัดผักทานเอง แบบง่ายๆ ทำยังไงดี

    เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    Back To Top