Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the pubnews domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /www/wwwroottha/38.181.62.209/wp-includes/functions.php on line 6121

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the pubnews-plus domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /www/wwwroottha/38.181.62.209/wp-includes/functions.php on line 6121
KUBET – 9 วิธีลดกินอาหารเค็มจัด ด้วยตัวเอง ทำยังไงดี – KUBET

    KUBET – 9 วิธีลดกินอาหารเค็มจัด ด้วยตัวเอง ทำยังไงดี

    9 วิธีลดกินอาหารเค็มจัด ด้วยตัวเอง ทำยังไงดี

    9 วิธีลดกินอาหารเค็มจัด ด้วยตัวเอง ทำยังไงดี | บทความโดย ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล

    ถ้าพูดถึงเรื่องของรสชาติของอาหารไทยนั้น ต้องบอกว่าไม่แพ้ชาติใดในโลกค่ะ โดยอาหารไทยส่วนมากจะมีรสชาติค่อนข้างหลากหลาย มีทั้งรสเปรี้ยว รสหวาน รสขมและรสเค็ม โดยรสเค็มนั้นหากมีมากเกินความจำเป็นก็จะเป็นปัญหาค่ะ ปกติผู้เขียนไม่เน้นความเค็มค่ะ เพราะเค็มนำอย่างเดียวก็ไม่ได้อร่อยเลย

    แล้วเราจะทำยังไงทำให้อาหารของเรามีรสชาติกลมกล่อมมากขึ้น ลดเค็มน้อยลง บางเมนูไม่ทำให้เค็มจัดจนเกินไป ในบทความนี้เราจะมารู้กันค่ะ กับวิธีลดกินอาหารเค็มจัดด้วยตัวของเราเอง โดยวิธีบางอย่างที่จะได้พูดนั้น ผู้เขียนได้นำมาใช้ตลอดค่ะ อยากรู้แล้วใช่ไหมคะ? ส่วนจะมีวิธีการอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น อ่านต่อกันเลยดีกว่า กับข้อมูลดังต่อไปนี้ค่ะ

    1. ปรุงอาหารเอง 

    การปรุงอาหารเองเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมความเค็มในอาหาร เพราะเราสามารถเลือกใช้วัตถุดิบสดใหม่ และลดการใช้เครื่องปรุงรสในอาหารได้ นอกจากนี้การปรุงอาหารเอง ทำให้เราสามารถปรับรสชาติอาหารได้ตามความชอบส่วนตัวหรือเป้าหมายที่ตั้งใจเอาไว้ว่าจะลดการอาหารเค็มๆ จึงทำให้เราสามารถลดปริมาณการเติมเครื่องปรุงที่จะทำให้เค็ม 

    2. ชิมก่อนปรุง 

    การชิมอาหารก่อนปรุงเป็นเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยลดการกินเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้เราประเมินรสชาติที่แท้จริงของอาหารก่อนที่จะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มเข้าไปค่ะ เครื่องปรุงรสบางชนิด เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว หรือซุปก้อน อาจมีความเค็มในปริมาณที่แตกต่างกัน การชิมก่อนปรุงจะช่วยให้เราทราบว่าอาหารมีรสชาติเค็มมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ควรชิมอาหารในระหว่างการปรุงอาหาร เพื่อให้เราสามารถปรับรสชาติได้ตามต้องการ และขั้นตอนการชิมอาหารอย่างถูกต้อง มีดังนี้

    • ใช้ช้อนสะอาด: ใช้ช้อนสะอาดตักอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ
    • ชิมรสชาติ: ค่อยๆ ชิมอาหาร เพื่อให้ได้รับรสชาติอย่างเต็มที่
    • ประเมินรสชาติ: ประเมินรสชาติของอาหารว่ามีความเค็มมากน้อยแค่ไหน หรือมีรสชาติอื่นๆ ที่โดดเด่นหรือไม่
    • ตัดสินใจ: ตัดสินใจว่าจะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มหรือไม่ หากรสชาติยังไม่ถูกใจ หรือต้องการเพิ่มรสชาติอื่นๆ
    • เติมเครื่องปรุงรส: หากต้องการเติมเครื่องปรุงรส ควรเติมในปริมาณน้อยก่อน แล้วค่อยๆ ชิมรสชาติอีกครั้ง หากรสชาติยังไม่พอดี ค่อยเติมเพิ่มทีละน้อย

    อาหารไทย

    3. ใช้สมุนไพรและเครื่องเทศ 

    การใช้สมุนไพรและเครื่องเทศเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมให้กับอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติที่อร่อย กลมกล่อม และน่ารับประทานมากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาเกลือหรือเครื่องปรุงรสที่มีความเค็ม ซึ่งเป็นอีกทางเลือกในการปรุงอาหารและยังช่วยให้เราได้ค้นพบรสชาติใหม่ๆ ที่น่าสนใจอีกด้วยค่ะ

    กลิ่นหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศสามารถกระตุ้นประสาทรับรส ทำให้เรารู้สึกว่าอาหารมีรสชาติเข้มข้นขึ้น แม้ว่าปริมาณเกลือจะลดลง สมุนไพรและเครื่องเทศบางชนิดสามารถช่วยบดบังรสชาติไม่พึงประสงค์ของอาหาร เช่น รสขมหรือรสคาว ทำให้ผู้เรารู้สึกว่าอาหารมีรสชาติอร่อยขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเติมความเค็มเพื่อกลบรสชาติเหล่านั้นค่ะ และเคล็ดลับการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศ มีดังนี้ค่ะ

    • ใช้สมุนไพรสด: สมุนไพรสดมีกลิ่นหอมและรสชาติที่เข้มข้นกว่าสมุนไพรแห้ง
    • ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม: ควรใช้สมุนไพรและเครื่องเทศในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กลบรสชาติของวัตถุดิบหลัก
    • เลือกใช้ให้เหมาะสมกับอาหาร: สมุนไพรและเครื่องเทศแต่ละชนิดมีรสชาติและกลิ่นหอมที่แตกต่างกัน ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
    • ทดลอง: ลองใช้สมุนไพรและเครื่องเทศใหม่ๆ เพื่อค้นหารสชาติที่เราชอบค่ะ

    4. จำกัดอาหารแปรรูป 

    อาหารแปรรูปมักมีเครื่องปรุงรสที่เกี่ยวกับความเค็ม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการกินเค็มมากเกินความจำเป็น ดังนั้นการจำกัดอาหารแปรรูปจึงเป็นวิธีที่สำคัญ เพราะสามารถช่วยลดเครื่องปรุงรสดังกล่าวมากจนเกินไปค่ะ และตัวอย่างอาหารแปรรูปที่ควรจำกัด เช่น

    • อาหารสำเร็จรูป: บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง
    • อาหารกระป๋อง: ผักกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง
    • อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์: ไส้กรอก แฮม เบคอน ลูกชิ้น หมูยอ
    • ขนมขบเคี้ยว: มันฝรั่งทอด ขนมอบกรอบ
    • เครื่องปรุงรส: น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส ผงชูรส

    ไส้กรอก

    5. ไม่วางเครื่องปรุงบนโต๊ะอาหาร 

    การไม่วางเครื่องปรุงบนโต๊ะอาหารเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดการกินเค็มได้ เพราะเป็นการลดโอกาสที่เราจะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มเข้าไปในอาหารโดยไม่จำเป็นค่ะ ตามธรรมชาติเมื่อคนเราเมื่อเห็นเครื่องปรุงวางอยู่บนโต๊ะอาหาร เรามักจะรู้สึกคุ้นเคยและอยากที่จะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มเข้าไปในอาหาร แม้ว่าอาหารนั้นจะมีรสชาติที่พอดีอยู่แล้ว การมองเห็นเครื่องปรุงรสบนโต๊ะอาหาร จะกระตุ้นให้เราคิดถึงรสชาติ และทำให้เราอยากที่จะเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มเข้าไปในอาหาร เพราะหลายคนมีความเชื่อว่าการเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มจะทำให้อาหารมีรสชาติอร่อยขึ้น ซึ่งอาจไม่เป็นความจริงเสมอไปนะคะ 

    6. ลดการใช้น้ำจิ้ม 

    น้ำจิ้มเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยยิ่งขึ้น แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าน้ำจิ้มหลายชนิดมีเครื่องปรุงรสเค็ม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการกินเค็มมากเกินความจำเป็น การลดการใช้น้ำจิ้มจึงเป็นวิธีสำคัญในการลดเครื่องปรุงรสที่เกี่ยวกับความเค็มในอาหารได้ และการทำน้ำจิ้มเองมีส่วนช่วยควบคุมการเติมเครื่องปรุงรสเค็มได้นะคะ

    น้ำจิ้ม

    7. จำกัดการใช้เครื่องปรุงรส 

    การจำกัดเครื่องปรุงรสที่เกี่ยวข้องกับความเค็มช่วยลดการกินเค็มได้ค่ะ  เพราะว่าเครื่องปรุงรสหลายชนิด เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วซอสปรุงรส ผงชูรส และซุปก้อน ล้วนมีความเค็มสูง การลดการใช้เครื่องปรุงเหล่านี้โดยตรงจึงเป็นการลดการกินเค็มได้ การกินอาหารรสเค็มเป็นประจำจะทำให้เราคุ้นชินกับรสชาตินั้นและต้องการรสเค็มมากขึ้นเรื่อยๆ 

    การลดการใช้เครื่องปรุงรสจะช่วยลดความเคยชินนี้และทำให้เรารับรสชาติของอาหารได้ดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเติมความเค็ม เมื่อลดการใช้เครื่องปรุงรสลง เราจะได้สัมผัสรสชาติที่แท้จริงของวัตถุดิบมากขึ้น และอาจค้นพบว่าอาหารนั้นมีรสชาติอร่อยตามธรรมชาติอยู่แล้ว โดยจะพูดว่าการลดการใช้เครื่องปรุงรสจะช่วยให้เราฝึกฝนการรับรสชาติใหม่ก็ได้ค่ะ ดังนั้นควรใช้เครื่องปรุงรสในปริมาณที่น้อยที่สุด หรือใช้เพียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติเท่านั้นค่ะ

    8. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความเค็มน้อย

    การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องปรุงรสเกี่ยวกับความเค็มต่ำ สามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเราให้ลดการกินเค็มลงได้ค่ะ เพราะมีส่วนช่วยทำให้เราสามารถวางแผนการการกินอาหารเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเราจะทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องปรุงรสหลายยี่ห้อที่ผลิตสูตรลดเครื่องปรุงรสเกี่ยวกับความเค็ม ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าสูตรปกติค่ะ

    อ่านฉลาก

    9. อ่านฉลากโภชนาการ

    การอ่านฉลากโภชนาการเป็นเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้เราลดการกินเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ เนื่องจากว่าฉลากโภชนาการจะแสดงข้อมูลปริมาณของเครื่องปรุงรสที่เกี่ยวกับความเค็ม การอ่านฉลากโภชนาการช่วยให้เราเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ทำให้เราสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมค่ะ

    และนั่นคือเคล็ดลับสำคัญที่มีส่วนช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา ให้หันมาปรุงอาหาร เลือกซื้ออาหารและรับประทานอาหารที่มีความเค็มน้อยลงค่ะ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายวิธีการมากๆ สำหรับผู้เขียนเป็นคนชอบทำอาหารเองค่ะ เลยง่ายมากสำหรับการควบคุมเรื่องความเค็ม และรสชาติของอาหารโดยภาพรวมที่ผู้เขียนได้ทำนั้นคือกลมกล่อมที่ไม่เน้นเค็มค่ะ ถึงแม้ว่าจะใส่เครื่องปรุงที่มีความเค็มก็ตาม เพราะผู้เขียนมีการชิมก่อนปรุง ตวงเครื่องปรุงต่างๆ และมักใช้วัตถุดิบสดใหม่ในการทำอาหาร รวมไปถึงการใช้สมุนไพรต่างๆ เข้ามาช่วยด้วยเหมือนกัน

    โดยแนวทางเดียวกันทั้งหมดที่ว่ามานั้น คุณผู้อ่านก็สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ ก็อย่าลืมนำไปใช้กันนะคะ และผู้เขียนหวังว่าเนื้อในบทความนี้จะสามารถเป็นแนวทางให้กับคุณผู้อ่านได้บ้าง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ

    ขอบคุณเครดิตภาพประกอบบทความ


    เกี่ยวกับผู้เขียนภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล

    ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล

    • จบการศึกษา: พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล 

    บทความอื่นที่น่าสนใจโดยผู้เขียน


    ภาพปก

    วิธีดูแลตัวเองหลังบริจาคเลือด มีอะไรบ้าง

    ภาพปก

    11 วิธีลดกินน้ำตาล เลิกติดหวานจัด

    ภาพปก

    8 ขั้นตอนทำสลัดผักทานเอง แบบง่ายๆ ทำยังไงดี

    เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    Back To Top